ขายฝากกับจำนอง ต่างกันอย่างไร

การทำสัญญากขายฝากและการจดจำนอง ต่างกันดังนี้

1.ลักษณะของสัญญา
จำนอง : ลูกหนี้ไม่ต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือเจ้าหนี้
ขายฝาก : ลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือเจ้าหนี้

2. กรณีการผิดสัญญา
จำนอง : เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ลูกหนี้สามารถจ่ายดอกเบี้ยเพื่อขอขยายเวลาได้อีกไม่เกิน 5 ปี หรือผู้รับจำนองจะฟ้องศาลเพื่อขอบังคับคดี และให้กองบังคับคดีประมูลขายทรัพย์สินทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ระหว่างที่ทำการฟ้องร้อง ทรัพย์สินนั้นจะไม่สามารถนำมาขายได้
ขายฝาก : ลูกหนี้จะต้องมาไถ่ถอนภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา หากเลยกำหนดระยะไถ่ถอนแล้ว สามารถขยายเวลาขายฝากได้ไม่เกิน 10 ปี โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง สำหรับอสังหาริมทรัพย์ และไม่เกิน 3 ปี สำหรับสังหาริมทรัพย์ แต่ถ้าหากไม่มีการขอต่อสัญญา ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของเจ้าหนี้ (ผู้รับฝาก) ทันที

3. ค่าธรรมเนียม
จำนอง : ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง อัตรา 1% จากวงเงินที่นำมาจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
ขายฝาก : ค่าธรรมเนียม อัตรา 2% จากราคาประเมิน และต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด

> การทำสัญญาขายฝากจะมีข้อดีคือ ผู้กู้เงินได้รับการอนุมัติเร็ว และมักจะได้วงเงินสูงกว่าจำนองค่อนข้างมาก แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของทรัพย์สินที่นำไปทำสัญญา หากโชคร้ายเจอนายทุนที่ไม่ยืดหยุ่น ต่อรองไม่ได้ เมื่อไถ่ถอนไม่ทันกำหนดเวลา ก็จะโดนยึดทรัพย์ ทรัพย์นั้นจะตกเป็นของนายทุนทันที รวมทั้งมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าการจำนองอีกด้วย
> ส่วนข้อดีของการจำนอง คือมีความปลอดภัยทางด้านทรัพย์สินมากกว่า เนื่องจากไม่ต้องขายทรัพย์สินนั้นๆให้กับเจ้าหนี้ก่อน โอกาสที่จะเสียทรัพย์จึงน้อยกว่า และมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าการขายฝาก แต่มีข้อเสียคือ ได้วงเงินน้อยกว่าการขายฝาก โดยจะได้วงเงินประมาณ 10-30% ของราคาประเมินเท่านั้น

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น